ดัชนีความพึงพอใจต่อธุรกิจค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยประจำปี 2564
ในขณะที่ประเทศไทยกำลังต่อสู้กับการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 หลังควบคุมสถานการณ์มานานได้หลายเดือน ดันน์ฮัมบี้ประเทศไทยก็ได้เปิดเผยรายงานอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับดัชนีความพึงพอใจต่อธุรกิจค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค (retailer preference index หรือ RPI) ที่ได้จัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย การศึกษาครั้งใหม่นี้ได้สำรวจข้อมูลจากนักช้อปไทยกว่า 2,300 รายโดยแสดงให้เห็นถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของเหล่านักช้อปไทย อีกทั้งในรายงานฉบับนี้ยังได้วิเคราะห์ถึงโอกาสที่เกิดขึ้นสำหรับธุรกิจห้างค้าปลีกชั้นนำทั้ง 12 รายด้วย
ข้อมูล RPI ของเราได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยขับเคลื่อนความพึงพอใจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติออร์แกนิกและมีความยั่งยืน ความหลากหลายของสินค้า ความสะดวกสบายในการเลือกซื้อสินค้า สิทธิประโยชน์และการสื่อสารกับลูกค้า ประสบการณ์ภายในร้าน ราคาและโปรโมชัน ตลอดจนช่องทางการซื้อสินค้าแบบออนไลน์พร้อมทั้งยังช่วยค้นหาคำตอบให้กับคำถามสำคัญ เช่น
- สิ่งที่ขับเคลื่อนความพึงพอใจของลูกค้าต่อธุรกิจห้างค้าปลีกคืออะไร
- ห้างค้าปลีกรายใดที่ประสบความสำเร็จและรายใดที่ควรเร่งปรับปรุงแก้ไข แล้วเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
- กลยุทธ์เพื่อชัยชนะที่ธุรกิจห้างค้าปลีกควรหันมาพิจารณา เพื่อให้นำหน้าเกมนี้ได้คืออะไร
รายงานฉบับนี้ยังมีคำแนะนำเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้เล่นแต่ละรายในธุรกิจค้าปลีก ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นถึงความต้องการของลูกค้าตนเองรวมถึงความคาดหวังในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าได้อย่างสอดคล้องกับยุคหลังโควิด-19 เพื่อไต่อันดับให้สูงขึ้นในปีถัดไปได้อีกด้วย
นอกจากนี้ เรายังได้ศึกษา RPI ในตลาดใหญ่อื่นๆด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และ สเปน โดยใช้แนวทางเฉพาะที่ผสมผสานการวัดความรู้สึกของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจค้าปลีก (การเชื่อมต่อด้าน อารมณ์ความรู้สึก) และพฤติกรรมของลูกค้า (การจับจ่ายใช้สอยในรูปของส่วนแบ่งการใช้จ่ายเงินของลูกค้า) เพื่อนำมาคำนวณเป็นคะแนนความพึงพอใจสำหรับห้างค้าปลีกแต่ละราย ดังนั้น RPI จึงเป็นตัวบ่งชี้จุดแข็งเชิงเปรียบเทียบที่มีต่อห้างค้าปลีกจากมุมมองของลูกค้า
ดาวน์โหลดรายงานเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ฟรี หากบริษัทของคุณมีชื่อปรากฏอยู่ในรายงานของเราและ ต้องการโพรไฟล์ธุรกิจค้าปลีกสำหรับคุณโดยเฉพาะโปรดติดต่อเรา